วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

มุมดีๆสวยๆทีมีให้กับนิสิตมมส






ประวัติมหาลัยมหาสารคาม
       มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีศูนย์กลางการบริหารงานตั้งอยู่ที่ ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่ประมาณ 1,300 ไร่ ที่ตั้งเดิม ซึ่งตั้งอยู่ที่ 269 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม บนพื้นที่ 197 ไร่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีกำเนิดมาจากวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2511 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะขยายการศึกษาชั้นสูงไปสู่ภูมิภาค ต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม เมื่อปีพุทธศักราช 2517 และได้แยกตัวเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศภายใต้ชื่อ "มหาวิทยาลัยมหาสารคาม" เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2537 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติ ของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 111 ตอนที่ 54 ก็นับเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่ 22 ของ ประเทศไทย
 
สีเหลือง-เทา สีประจำมหาวิทยาลัย



ต้นราชพฤกษ์ ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

ตราประจำมหาวิทยาลัยมหาสารคาม คือ ตราโรจนากร ซึ่งมีความหมายว่า ดวงตาแห่งความเจริญรุ่งเรือง ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นรูปใบเสมาภายในมีภาพสัญลักษณ์ขององค์พระธาตุนาดูน ด้านล่างเป็นสุริยรังสีที่แผ่ขึ้นจากผ้าลายขิดซึ่งอยู่เหนือคำขวัญภาษาบาลี
พหูนํ ปณฺฑิโต ชีเว"' หมายความว่า ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน
ใบเสมา หมายถึง ภูมิปัญญา
องค์พระธาตุนาดูน หมายถึง คุณธรรมความดี
สุริยรังสี หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
ความหมายโดยรวม คือ ความเจริญรุ่งเรืองอันเป็นผลจากความรู้และคุณธรรม ผสมผสานกับภูมิปัญญาแห่งท้องถิ่นอีสาน
ลายขิด หมายถึง ภูมิปัญญาและมรดกทางวัฒนธรรมแห่งอีสาน

  • สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีเหลือง - เทา
  • สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง ความดีงาม ความอุดมสมบูรณ์
  • สีเทา หมายถึง ความคิด หรือ ปัญญา
  • สีเหลือง - เทา จึงหมายถึง การมีปัญญาและความคิดที่ดีงาม อันนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง
  • วาทกรรมอัตลักษณ์ประชาคม มมส คือ ลูกพระธาตุนาดูน ดอกคูนผลิช่อ มอน้ำชี ศรีโรจนากร

อีกมุมๆหนึ่งที่ใครหลายคนยังไม่เคยรู้






ความเป็นไทย



ธรรมชาติ

บ้านทรงไทย

บรรยากาศสวยๆ

กำลังหม่ำๆ


มองสาวๆ


กวางน้อยน่ารัก

กำลังหม่ำๆๆ

กระตายน้อย

เดินเล่นตอนเย็น

ตอนเย็นๆๆ

ตึกสโมสรนิสิตบุคคลากร


วิวสวยๆ

บรยากาศชิวๆ


เดินชมบรรยากาศ


แดดร่มลมตก


ทางเดินอันน่าเดิน




วิวที่น่าถ่ายรูป




วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

การทำ blogger ผ่านมือถือ

ขั้นตอนการใช้โปรแกรม Share online
  1. ไปที่เว็บไซต์ http://www.nokia.co.th/A41427242 ตรวจสอบเครื่องรุ่นที่สามารถใช้บริการได้เครื่องรุ่นใหม่บางรุ่น เช่น N96, N78 จะมีบริการ Share Online ติดตั้งมาเรียบร้อยแล้ว ถ้าเครื่องโนเกียของคุณสามารถใช้บริการ Share Online ได้แต่ยังไม่มีบริการนี้ติดตั้งมากับเครื่อง ให้ download มาติดตั้งได้ โดยสามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้
    • โดยดาวน์โหลดมาลงที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ก่อน แล้ว ติดตั้งบริการ Share Online ลงในโทรศัพท์มือถือของคุณด้วย Nokia PC Suite
    • ใช้โทรศัพท์มือถือโนเกีย เปิดเว็บไซต์โนเกีย เข้าไป download โปรแกรมและ install ลงเครื่องได้ทันที
  2. เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว จะมี Icon Share online ปรากฎที่หมวด Application ในมือถือของคุณ เลือก Icon Share Online จะเข้าสู่บริการ Share online ซึ่งมีพันธมิตรที่ร่วมให้บริการ 4 ราย ได้แก่ Flickr, Vox, Ovi และ Oknation (บล็อกจากประเทศไทยบล็อกเดียวที่ร่วมกับโนเกีย เปิดบริการ Share online สำหรับสมาชิกโอเคเนชั่นทุกท่าน)
  3. เลือก OKnation จะมีข้อความถามว่าต้องการ Activate บริการนี้หรือไม่ ให้เลือก "Yes"
  4. ให้ใส่ username และ password ของคุณโดยใช้ ชุดเดียวกับที่ login เข้าระบบ OKnation
  5. เลือกการเชื่อมต่อ GPRS เมื่อระบบเชื่อมต่อ GPRS สำเร็จแล้ว จะมีข้อความแจ้งการเข้าสู่ระบบ ให้เลือก "Yes"
  6. บริการ Share online สามารถกำหนดการ update รูปได้ ในกรณีที่ไม่มีการอัพเดท รูปตลอดเวลา ให้เลือก "Manual"
  7. เมื่อทำการ set up เรียบร้อยแล้ว จะมี ชื่อ account ของบล็อกเกอร์ปรากฎที่หน้าจอเครื่องโทรศัพท์มือถือ
  8. เลือกที่ Option จะมีตัวเลือก ในกรณีที่ต้องการดูว่ามีรูปที่เรานำขึ้นสู่ระบบไปทั้งหมดกี่รูปให้เลือก "open"
  9. เมื่อต้องการ Upload ภาพไปที่ บล็อก ให้ เลือก > option > new post ระบบจะให้ใส่รายละเอียดของภาพที่ต้องการโพสต์
  10. จากนั้นเลือก Option อีกครั้ง เลือก Select > insert > image แล้วเลือกรูปที่ต้องการนำขึ้นบล็อก
  11. ใส่ชื่อภาพ แล้วเลือก Option > Select > Post to web เพื่อ upload ภาพขึ้นบล็อก
  12. เลือก Option > Update Now เพื่อ update รูปใน account share online คลิกที่รูป เพื่อดูรูปขนาดใหญ่ขึ้น
  13. หลังจากเสร็จขั้นตอนแล้ว ที่หน้าจอโทรศัพท์ จะขึ้นบริการ share online ถ้ามีคนแสดงความคิดเห็นเข้ามา จะ update ที่หน้าจอ คุณสามารถเข้าไปอ่านข้อความได้ผ่านหน้า WAP site ได้ทันที

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อารมณ์ดี เพราะมีความสุข

                          GO  TO    หัวหิน
  ตัวเมืองหัวหิน อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 195 กิโลเมตร และอยู่ก่อนถึงตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ 90 กิโลเมตร ตลาด หัวหิน เป็นตลาดใหญ่มีร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก และโรงแรมมากมาย การคมนาคมสะดวก มีบริการรถสามล้อ รถสองแถวรับจ้าง และรถเช่า ไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในตัวอำเภอและสถานที่ใกล้เคียง ด้านทิศตะวันออกของตัวเมืองเป็นชายหาด มีทางลงหาดอยู่ที่ถนนดำเนินเกษม แยกซ้ายมือจากทางหลวงหมายเลข 4 บริเวณกิโลเมตรที่ 232 หาด หัวหิน มีความยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ทรายขาวละเอียดเหมาะแก่การเล่นน้ำทะเล
     เทศบาลเมือง หัวหิน เป็นที่ตั้งของเขตพระราชฐาน คือ วังไกลกังวล ซึ่งปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถประทับอยู่ เทศบาลเมือง หัวหิน เป็นเขตควบคุมมลพิษตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ( พ.ศ. 2539) และเป็นเขตพื้นที่ที่ใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2547


ประวัติเมืองหัวหิน
     ก่อนหน้าที่ชื่อ หัวหิน ยังไม่เกิด มีเรื่องเล่าขานกันว่าราวปี พ.ศ. 2377 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พื้นที่เกษตรกรรมบางแห่งของเมืองเพชรบุรีแห้งแล้งกันดารมาก ราษฏรกลุ่มหนึ่งจึงทิ้งถิ่นย้ายลงมาทางใต้ จนมาถึงบ้านสมอเรียงซึ่งอยู่เหนือขึ้นมาจากเขาตะเกียบและบ้านหนองแกหรือบ้านหนองสะแก ที่บ้านสมอเรียงนี้มีหาดทรายชายทะเลแปลกกว่าที่อื่น คือมีกลุ่มหินกระจัดกระจายอยู่อย่างสวยงาม ทั้งที่ดินก็มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับทำไร่ทำนาการประมง บรรพชนเหล่านี้จึงเป็นเสมือนผู้ที่ลงหลักปักเสาสร้างบ้าน หัวหิน ขึ้น จนกลายเป็นหมู่บ้านที่เรียกกันแต่แรกว่า “ บ้านสมอเรียง ”
     พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ (พระองค์เจ้าชายกฤษดาภินิหาร ต้นราชสกุลกฤดากร) เป็นเจ้านายพระองค์แรกที่สร้างตำหนักหลังใหญ่ชายทะเลด้านใต้ของหมู่หิน (ปัจจุบันอยู่ติดกับโรงแรมโซฟิเทลฯ) และประทานชื่อตำหนักว่า “แสนสำราญสุขเวศน์” ต่อมาทรงปลูกอีกหลังหนึ่งแยกเป็น แสนสำราญ และ สุขเวศน์ เพื่อไว้ใช้รับเสด็จเจ้านาย พร้อมกับทรงสร้างเรือนขนาดเล็กใต้ถุนสูงอีกหลายหลัง ซึ่งต่อๆ มาคือ “บังกะโลสุขเวศน์” ทรงขนานนามหาดทรายบริเวณตำหนักและหาดถัดๆ ไปทางใต้เสียใหม่ว่า “ หัวหิน ” เป็นคนละส่วนกับบ้านแหลมหินเดิม โดยมีกองหินชายทะเลเป็นที่หมายแบ่งเขต ซึ่งบ้านแหลมหินเดิมมีเขตด้านใต้ถึงเพียงแค่ต้นเกดใหญ่ชายทะเล ( ปัจจุบันอยู่หน้าโรงแรมโซฟิเทลฯ มีศาลเทพารักษ์ใหญ่) เท่านั้น ไม่ถึงที่ดินของเสด็จในกรมฯ ครั้นเมื่อวันเวลาผ่านไป ชื่อ “ หัวหิน ” ก็แผ่คลุมทั้งหาดทั้งตำบลจนขยายเป็นอำเภอ หัวหิน
     ส่วนที่ดินแปลงที่อยู่ตรงหมู่หินชายทะเล เป็นของสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ซึ่งทรงสร้างตำหนักใหญ่ขึ้นถึงสองครั้ง ครั้งแรกคือตำหนักขาว ครั้งหลังคือตำหนักเทาและเรือนเล็กอีกหลายหลัง ซึ่งก็คือบ้านจักรพงษ์ในเวลาต่อมา ปัจจุบันคือโรงแรมเมเลีย ซึ่งได้เปลี่ยนผู้ดำเนินการเป็นโรงแรมฮิลตัน
     ในช่วงเวลาเดียวกันกับการสร้างพระราชวังไกลกังวล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ต้นราชสกุลบุรฉัตร ก็ได้จัดสร้างตลาดฉัตร์ไชยขึ้นในที่ดินพระคลังข้างที่ โดยออกแบบให้มีหลังคารูปโค้งครึ่งวงกลมต่อเนื่องกัน 7 โค้ง เพื่อสื่อความหมายว่าเป็นการสร้างขึ้นในรัชกาลที่ 7 ทั้งตัวอาคารและแผงขายสินค้าเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ตัวตลาดโล่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก และจัดว่าเป็นตลาดที่ถูกสุขลักษณะที่สุดของประเทศไทยในขณะนั้น ชื่อตลาดฉัตร์ไชยนี้มาจากพระนามเดิมของพระองค์ คือพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากรนั่นเอง ต่อมาตลาดฉัตร์ไชยและโรงแรมรถไฟ หรือโฮเต็ลหัวหินก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของชายทะเลหัวหิน ส่วนพระราชวังไกลกังวลนั้นถือว่าเป็นสถานที่อันควรสักการะบูชา มากกว่าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยว
     นับตั้งแต่มีการสร้างทางรถไฟสายใต้แล้วเสร็จ เชื่อมต่อกับชายแดนของประเทศมาเลเซีย หัวหิน ก็มีชื่อเสียงว่าเป็นสถานที่พักตากอากาศอันลือชื่อของไทย ซึ่งนักท่องเที่ยวนิยมมาพักผ่อน ว่ายน้ำ ตกปลา และตีกอล์ฟเนื่องจากมีสนามกอล์ฟ หัวหิน รอยัลกอล์ฟ ซึ่งจัดเป็นสนามกอล์ฟระดับมาตรฐานสากลแห่งแรกของประเทศไทย

หาดทรายขาวน้ำทะเลใส


บรรยากาศน่าอยู่

มีม้าให้นั่งชมวิว